20 พ.ย. 2559

ขอเชียร์ ให้นายกตู่ ยกเลิกแบงค์ 1000

ที่อินเดีย

นายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี ของอินเดีย ประกาศยกเลิกการใช้ธนบัตรมูลค่า 500 และ 1,000 รูปี 
ผ่านทางสถานีโทรทัศน์เมื่อวันที่ 8 พ.ย.59 ที่ผ่านมา โดยคำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับใช้หลังเที่ยงคืน
ของวันเดียวกัน ทำให้ประชาชนชาวอินเดียพากันแห่ไปฝากธนบัตรทั้ง 2 ชนิด ที่ถือครองอยู่
ผ่านตู้เอทีเอ็มจนต้องเข้าแถวกันยาวเหยียด พร้อมกับถอนเงิน 100 รูปีออกมาใช้เพื่อให้มีเงินติดตัว
ในช่วงไม่กี่วันข้างหน้า เนื่องจากมีคำสั่งปิดธนาคารในวันที่ 9 พฤศจิกายนนี้ ทั้งยังจะระงับการทำงานของตู้เอทีเอ็มอีกด้วย

          "เงินนอกระบบ และการทุจริตเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดในการขจัดความยากจน" นายโมดีกล่าว

ทางการอินเดียจะพิมพ์ธนบัตรใหม่เพื่อทดแทนธนบัตรแบบเดิมที่ถูกยกเลิกไป และจะเปิดให้ประชาชน
สามารถนำเอาธนบัตรแบบเก่าที่ไม่สามารถใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนได้มาแลกเป็นธนบัตรใหม่ได้
ภายใน 50 วัน โดยผู้คนสามารถนำธนบัตรเก่ามาแลกเป็นธนบัตรใหม่ที่ธนาคารได้ตั้งแต่
วันที่ 10 พ.ย. -30 ธ.ค.59  

ด้านรัฐมนตรีคลัง อินเดีย เตือนว่าผู้ที่ถือครองเงินสดเป็นจำนวนมาก และนำมาแลกเป็นธนบัตรใหม่
จะถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดหลังจากนั้น

คำประกาศแบบสายฟ้าแลบดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการปราบปรามการ
ทุจริตคอร์รัปชั่น และผู้ถือครองเงินนอกระบบในประเทศ เพื่อให้เงินผิดกฎหมาย หรือเงินที่ได้มา
จากการทุจริตคอร์รัปชั่น จะถูกขจัดออกจากระบบ ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ไม่มีใครได้ข่าวล่วงหน้ามาก่อนเลย


บ้านเราก็ระวังเอาไว้นะ  เคยมีนักวิชาการอย่างคุณ เปลว สีเงิน เสนอให้ท่านนายก ประยุทธ 
ประกาศยกเลิกการใช้ธนบัตรฉบับละ 1000 บาท  ถ้าเกิดขึ้นได้จริงๆ ในเมืองไทย 
ผมคนหนึ่งล่ะ จะสะใจยิ่งนัก  จะรอดูว่าท่านนักการเมือง ท่านข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นักค้ายาเสพติด  
นักธุรกิจสีเทา สีดำ ที่ไม่สามารถนำสด ร้อยล้าน พันล้าน  หมื่นล้าน เข้าฝากในแบงก์ได้ 
จะเอาเศษกระดาษพวกนั้นไปทิ้งที่ไหน 

16 พ.ย. 2559

การตรวจโรคทหารกองเกิน ก่อนวันเกณฑ์ทหาร


ทหารกองเกิน ซึ่งอยู่ในกำหนดเรียกเข้ารับการตรวจเลือกฯ ในเดือน เม.ย. ๖๐
ผู้ใดที่คิดว่าตนเอง มีโรคหรือสภาพร่างกาย หรือสภาพจิตใจที่ไม่สามารถรับราชการทหารได้
สามารถขอรับการตรวจโรคก่อนการ ตรวจเลือก (เกณฑ์ทหาร) ที่โรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก
จำนวน ๒๐ แห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ ๑ ต.ค. ๕๙ - ๒๐ ก.พ. ๖๐

เฉพาะทหารกองเกินที่จะเข้ารับการตรวจเลือกในปี ๒๕๖๐ เท่านั้น
คนที่ร่างกายปกติ สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่ต้องไปตรวจให้สิ้นเปลืองนะครับ
เพราะการตรวจในกรณีนี้  แพทย์เขาจะตรวจเพื่อคัดกรองคนที่ป่วย หรือ ร่างกายไม่แข็งแรง
หรือ สภาพร่างกายผิดปกติ ไม่สามารถเป็นทหารเกณฑ์ได้
ผู้ขอให้ตรวจต้องออกค่าใช้จ่ายเอง หากแพทย์ตรวจพบว่า  ทหารกองเกินคนใดเป็นโรคที่ขัดต่อ
การรับราชการทหาร  คณะแพทย์จะออกเอกสารใบความเห็นแพทย์ให้ไว้
เพื่อใช้ยื่นต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก
ท่านจะได้เอกสารรับรองผลการตรวจเลือกเป็นบุคคลประเภทที่ 4
แปลว่า "ไม่ต้องเป็นทหาร"  หากไม่ทำการตรวจตามกำหนดข้างต้น
ก็ต้องเข้าสู่กรรมวิธีหรือขั้นตอนการตรวจเลือกทหาร จับใบดำ ใบแดง

โรคที่ควรไปเข้ารับการตรวจได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของ  ตา , หู , โรคหัวใจและ
หลอดเลือด  ,  โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด  ,  โรคของระบบหายใจ  ,  โรคของระบบปัสสาวะ
โรคหรือความผิดปกติของกระดูก ข้อ  และกล้ามเนื้อ  ,  โรคของต่อมไร้ท่อ   และภาวะผิดปกติของเมตะบอลิสัม ,โรคติดเชื้อ ,  โรคทางประสาทวิทยา ,  โรคทางจิตเวช และโรคอื่น ๆ 
เช่น  ตับแข็ง  เป็นต้น 

 หากมีปัญหาหรือข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
๑. กองการสัสดี หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน เลขที่ ๒ ถนนเจริญกรุง แขวงพระบรมมหาราชวัง
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ โทร. ๐ ๒๒๒๓ ๓๒๕๙, ๐ ๒๒๒๓ ๓๔๒๑
หรือตรวจดูได้ที่เว็บไซต์ www.Sussadee.com
๒. แผนกสรรพกำลังกองทัพภาคที่ ๑ - ๔
๓. ฝ่ายสรรพกำลังมณฑลทหารบก ทุก มณฑลทหารบก
๔. สำนักงานสัสดีกรุงเทพมหานคร/สำนักงานสัสดีจังหวัดทุกจังหวัด
๕. หน่วยสัสดีเขต/หน่วยสัสดีอำเภอทุกอำเภอ

โรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก ที่รับตรวจโรค  จำนวน ๒๐ แห่ง ทั่วประเทศ ได้แก่
ภาคกลาง - ได้แก่ รพ.พระมงกุฎเกล้า (ก.ท.), รพ.อานันทมหิดล (จว.ล.บ.), รพ.ค่ายธนะรัชต์ (ศร.) (จว.ป.ข.), รพ.ค่ายสุรสีห์ (จว.ก.จ.) และ รพ.ค่ายอดิศร (จว.ส.บ.)

ภาคตะวันออก - ได้แก่ รพ.ค่ายจักรพงษ์ (จว.ป.จ.), รพ.รร.จปร. (จว.น.ย.),
 รพ.ค่ายนวมินทราชินี (จว.ช.บ.)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   ได้แก่ รพ.ค่ายสุรนารี (จว.น.ม.), รพ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ (จว.อ.บ.), รพ.ค่ายวีรวัฒน์โยธิน (จว.ส.ร.), รพ.ค่ายประจักษ์ศิลปาคม (จว.อ.ด.) และ รพ.ค่ายกฤษณ์สีวะรา (จว.ส.น.) ภาคเหนือ - จ านวน ๔ แห่ง ได้แก่ รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (จว.พ.ล.), 
รพ.ค่ายจิรประวัติ (จว.น.ว.), รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี (จว.ล.ป.) และ รพ.ค่ายกาวิละ (จว.ช.ม.)

ภาคใต้  ได้แก่ รพ.ค่ายวชิราวุธ (จว.น.ศ.), รพ.ค่ายเสนาณรงค์ (จว.ส.ข.)
 และ รพ.ค่ายอิงคยุทธบริหาร (จว.ป.น.)

หลักฐานที่ต้องนำไปด้วยในการตรวจโรค ได้แก่
บัตรประจำตัวประชาชน,
ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
และหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๓๕)

4 พ.ย. 2559

สอบภาคทฤษฎี ปี 3 และ ปี 5 ปีการศึกษา 2559

หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) กำหนดให้ นศท.ชั้นปีทีื 3 และ 5 สอบภาคทฤษฎี (ข้อเขียน) พร้อมกันทั่วประเทศ  ในวันเสาร์ที่ 19 พ.ย.59 ตั้งแต่เวลา 08.00

ศฝ.นศท.มทบ.42 ได้กำหนดสนามสอบไว้ 4 สนามสอบ ดังนี้

สนามสอบที่ 1 รร.หาดใหญ่วิทยาลัย (ญ.ว.) จำนวน 32 ห้องสอบ เป็นของชั้นปีที่ 3 ล้วนๆ
ทั้งชายและหญิง  มี รร.อะไรบ้างที่สอบที่ ญ.ว. สรุปง่ายๆว่า
กลุ่มวันจันทร์  อังคาร และพุธ สอบที่ ญ.ว.

สนามสอบที่ 2 รร.นวมินทราชูทิศทักษิณ  จำนวน 42 ห้องสอบ
เป็นห้องสอบของ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 31 ห้อง  และชั้นปีที่ 5 ขำนวน 11 ห้อง
(ปี 5 ชาย,หญิง สอบที่ นวมิน ที่เดียว)
ชั้นปีที่ 3 ที่สอบสนามนี้ คือ รร.ที่อยู่ในกลุ่ม วันพฤหัส และ ศุกร์

สนามสอบที่ 3 รร.สตูลวิทยา   ปี 3 สตูล ทุก รร.สอบที่นี่ที่เดียว

สนามสอบที่ 4 รร.พัทลุง          ปี 3 พัทลุง ทุก รร.สอบที่ รร. จังหวัด นะครับ

ขอให้ นศท.ที่เข้าสอบทุกนาย ไปถึงสนามสอบ ก่อน 8 โมง นะครับ เพื่อเข้าแถวเคารพธงชาติและฟังคำชี้แจงจากกรรมการคุมสอบ  และกรรมการจะเป็นผู้พาเดินเข้าห้องสอบ
ข้อสอบ แบบ ปรนัย จำนวน 100 ข้อ เกณฑ์ผ่าน ร้อยละ 50

การแต่งกาย
ชั้นปีที่ 5 เครื่องแบบปกติแขนยาว (ชุดอ่อน)
ชั้นปีที่ 3 เครื่องแบบฝึก พับแขน

สิ่งของที่เตรียม ในการสอบ
1 ดินสอ 2 B + ยางลบ
2 ปากกา
3 บัตร นศท. หรือบัตรประชาชน
หมายเหตุ  นศท.ทุกนาย ต้องจดหรือจำ หมายเลขประจำตัว นศท.(10 หลัก)
และเลข รหัสสถานศึกษาและ ลำดับที่ ใน รด.25 เอาไว้ด้วย

สำหรับ นศท.ที่ประสบอุบัติเหตุ หรือเหตุสุดวิสัย จนไม่สามารถไปสอบในวันที่ 19 พ.ย.59 ได้
ให้ไปสอบเก็บตกในวันที่ 20 พ.ย.59 เวลา 08.00  ณ ศฝ.นศท.มทบ.42 ที่เดียว
และต้องมีเอกสารที่เชื่อถือได้ ว่าประสบเหตุสุดวิสัยจริงมาแสดงต่อกรรมการด้วย

*** ขอให้ผู้เข้าสอบทุกนาย จงโชคดี ***
*** หากมีใครโชคร้าย เจอกันอีกครั้ง สอบซ่อม  14-16 ธ.ค.59 ***
*** ผู้ที่มีสิทธิ์สอบซ่อม คือ คนที่ เข้าสอบในวันที่ 19,20 พ.ย.แล้ว สอบตก เท่านั้น ***