17 ก.ค. 2559

พรบ.กำลังพลสำรอง 2558

พรบ.กำลังพลสำรอง พ.ศ. 2558 ประกาศในราชกิจนุเบกษา เมื่อ 30 ธ.ค.58

กม.ฉบับนี้ สร้างความตื่นตระนกให้กับบรรดา หนุ่มน้อย หนุ่มใหญ่ ที่เป็นทหารกองหนุนอยู่ไม่น้อย
มันก็น่าตกใจอยู่นะครับ เพราะเกิดข้อสงสัย ต่างๆนาๆ ผุดเป็นเครื่องหมายคำถามอยู่ในหัวสมอง
เต็มไปหมด "เราจะโดยเรียกป่าววะ  กี่เดือนวะ งวดแรกออกที่ใครบ้างวะ"
"จบ นศท.ปี 3 แล้ว โดนด้วยเหรอ"   "เราจบปี5โดนด้วยหรา"   (ฮ่าฮ่าฮ่า อย่าคากมิด)
มาทำความรู้จักกับตัวจริง(พรบ.)ซะเลยดีกว่า  รู้เขา รู้เราสัมผัสโดยตรงเลยนิ ว่า น่ากลัว
น่าเกลียด น่ารังเกียจ อย่าที่เป็นข่าวล่ำลือหรือเปล่า   ไม่แน่นะ ผมว่าอาจจะน่ารักด้วยซ้ำไป
ลองสัมผัสดูก่อน ดีม๊ะ

ก่อนอื่นเรา่รู้ยังล่ะ ว่า "กำลังพลสำรอง" คือใคร
เอ่อ... นั่นซิ กลัวไปก่อนซะแล้ว ยังไม่รู้เลยว่าเกี่ยวข้องกะใครมั้ง

กำลังพลสำรองหมายถึง
1 ข้าราชการทหารที่ลาออกจากประจำการ
2 คนที่ปลดจากกองประจำการทุกประเภท (ได้แก่ทหารเกณฑ์ และ ผู้ที่จบ นศท.ปี 3 )
3 ทหารกองเกิน (ก็คนที่ไปลงทะเบียนทหารกองเกินตอนอายุ 17ปีและได้ใบ สด.9 แล้ว)
4 คนที่จับได้ใบดำในวันที่เกณฑ์ทหาร

คงรู้แล้วซินะ เราอยู่ในกลุ่มกะเขาหรือป่าว  (นี่นี่ เรียงตามลำดับความต้องการแล้วนะ)
" วุ้ยย ข้อ 4 นั่น จะเอาไปทำกากอะไร ไม่เคยฝึก ไม่เคยยิงปืนสักนัด เป็นผักเหนอะซิท่า"
เถอะน่า  ทหารเขาคิดแล้ว ต้องช่วยชาติได้แน่นอน ถึงกำหนดไว้ในกฎหมาย

พรบ.กำลังพลสำรอง บัญญัติว่า
กำลังพลสำรองให้มีไว้ใช้ ในยามปกติและยามสงคราม
"ยามสงคราม ครับผม เข้าใจครับ เพื่อปกป้องแผ่นดินเป็นหน้าที่อยู่แล้ว  แล้วยามปกติ นี่ซิ
จะเอาผมไปทำอะไร ????"

คำตอบคือ ภัยพิบัติตามธรรมชาติงัยครับ ปัญหาภัยพิบัติสาธารณะ รัฐธรรมนูญกำหนด
ให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายทหารในการแก้ไข ช่วยเหลือและบรรเทา ด้วยนะ
สึนามิ แผ่นดินไหว น้ำท่วม ต้องใช้กำลังพลจำนวนมาก เหตุการณ์สึนามิอันดามัน ทหารไปกันหมดทุกค่าย ยังเอาไม่ทันเลย  น้ำท่วมใหญ่ กทม.
ค่ายทหารเกือบร้าง ก็ยังเข้าไปช่วยเหลือไม่ทั่วถึงเลย
เห็นม๊ะ คนจับใบดำตามข้อ 4 เขาช่วยได้นะ เข้าใจแนวคิดของทหารแล้วใช่ไหมครับ
"เขาลือว่า ยามปกติก็เรียกไปฝึกด้วย ปีละ 60 วัน"
แหม คุณเขานี่พูดไปได้เรื่อยเลยนะ  จริงๆแล้ว ในยามปกติ พรบ.กำหนดให้เรียกมาฝึกได้
อย่าลืมว่า ทหารต้องฝึกจนช่ำชอง ถึงจะออกรบได้  นักมวยขึ้นชกโดยไม่ซ้อม ก็โดนน็อคซิครับ

ตาม พรบ.กำลังพลสำรอง ให้เรียกได้ 5 กรณี ครับ
1 เรียกเพื่อตรวจสอบ (ปีละครั้งๆละ 1 วัน)
2 เรียกเพื่อฝึกวิชาทหาร (ตาม กม.ให้เรียกได้ 60 วัน ปัจจุบัน เรียก 10 วัน และเรียกเฉพาะ        เสาร์,อาทิตย์ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการทำงาน)
3 เรียกเพื่อปฎิบัติราชการ ร่วมกับข้าราชการทหาร (ข้อนี้เน้นไปที่อาสาสมัคร หรือรับสมัคร)
4 เพื่อทดลองความพรั่งพร้อม (ครั้งละไม่เกิน 3 วัน)
5 เพื่อการระดมพล (ถ้าถึงขั้นเรียกระดมพล แสดงว่ามีศึกสงครามแน่นอน)
ทั้งนี้ ใช่ว่าจะเรียกครบทั้ง 5 กรณีในทุกๆปีนะ ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่รัฐบาลจัดให้
และสถานการณ์ในพื้นที่ด้วยนะครับ


   
                          


"พี่ครับ ตอนนี้ผมทำงานเป็นลูกจ้างรายวัน ถ้าโดนเรียก 10 วันผมแย่แน่เลย"
ทางราชการไม่ใจดำหรอกครับ  มีค่าตอบแทนและสวัสดิการให้ครับ รับรองว่า ไม่น้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำแน่นอน ลูกเมียอยู่บ้านไม่อดหรอก เช่น
ค่าตอบแทน  ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าอาหาร ค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พัก เครื่องแบบทหาร ค่ารักษา ฯลฯ

"พี่ครับ ผมจะรู้ได้งัยว่า ผมโดนเรียก...... แฮ่ๆๆ  ถ้าเรียกแล้วผมไม่ไปล่ะครับ.."
ทางทหารจะส่งเอกสารลงทะเบียนตอบรับถึงตัวท่าน ตามภูมิลำเนาทหารที่แจ้งไว้ครับ
ส่งล่วงหน้าเป็นเดือนๆเลย เพื่อให้ท่านได้เตรียมตัว หาของศักดิ์สิทธิ์มาติดตัวไว้
ได้ลาลูก ลาเมีย ลากิ๊ก  (ถ้ามี)
ถ้ารับหมายเรียกแล้วไม่ไป โดยไม่มีเหตุอันควร มีความผิดนะ ผิดอาญา ทั้งจำและปรับ ครับ

"แล้วพวกผมจะพ้นจากการเป็นกำลังพลสำรองเมื่อไหร่เนี่ย"
ถ้าจะตอบแบบรวมๆ ก็อายุครบ 46 ปีครับ

ขอสรุปในตอนท้ายว่า

1 เหตุผลที่ออก พระราชบัญญัติฉบับนี้ เพื่อบริหารจัดการ นายทหารสัญญาบัตรกองหนุน 
ทหารกองหนุนประเภทที่ ๑,๒ และทหารกองเกิน ที่กระทรวงกลาโหมจัดเก็บรายชื่อไว้
เป็นบัญชีประเภทต่างๆ ประมาณ 12 ล้านคน ให้มีประสิทธิภาพ

2 กําลังพลสํารองนั้น ทางราชการจะเรียกตามความจำเป็นเท่านั้น และไม่เรียกไปปฎิบัติ
ราชการในพื้นที่ 3 จชต.อย่างแน่นอน

3 การบรรจุกำลังพลสำรองในหน่วยทหาร เพียงแต่ใส่รายชื่ออยูในบัญชีบรรจุกําลัง
ของหนวยทหารเทานั้น ตัวจริงเป็นๆ ยังคงปฏิบัติงานตามปกติในโรงงาน บริษัท 
หางราน หรือประกอบอาชีพอิสระไดตามปกติ

4 เมื่อมีการเรียกกําลังพลสํารองเขารับราชการทหาร กําลังพลสํารองจึงจะมาปฏิบัติหนาที่
ในหนวยทหารที่ตนมีรายชื่อสังกัดอยู่


5 เข้าใจตรงกันนะครับ พรบ.กำลังพลสำรอง 2558 ไม่ใช่กฎหมายที่น่ารังเกียจแต่อย่างใด 
และไม่ใช่กฎหมายใหม่ เพียงแต่ได้รวบรวม กฎกระทรวงหลายๆกระทรวง
มาอยู่ในที่เดียวกัน เป็น พรบ.





ไม่มีความคิดเห็น: