16 มิ.ย. 2559

เตรียมตัวลงทะเบียน Any ID

Any ID คืออะไร
หมายถึง Any identification  เป็นการใช้เลขประจำตัวแบบใดก็ได้   
ที่บ่งชี้ถึงตัวตนของเราว่ามีอยู่จริง เช่น เลขประจำตัวประชาชน, เลขเบอร์โทรศัพท์ 
มาผูกไว้กับบัญชีธนาคารของเรา สำหรับใช้แทนเลขบัญชีธนาคาร 
ในการทำธุรกรรมทางเงินประเภทต่างๆ 
แปลไทยเป็นไทยได้ว่า  : เปลี่ยนเลขประจำตัวประชาชน หรือเลขเบอร์โทรศัพท์มือถือ
ให้เป็นเลขบัญชีธนาคาร  (ชัดเจนเลย)

ลงทะเบียนวันไหน ครับ
รัฐบาล กำหนดตั้งแต่ วันที่ 15 กรกฎาคม  2559 เป็นต้นไป 
สำหรับการลงทะเบียน  Any ID  ด้วยการเปลี่ยนเลขประจำตัวประชาชน 
หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ ให้เป็นบัญชีธนาคาร

Any ID มาจากไหน กำกับดูแลโดยใคร 
บริการดังกล่าวเป็นหนึ่งในโครงการหลักของรัฐบาลในชื่อหัวข้อ 
National e-Payment หรือระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์
ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต 
และสมาร์ทโฟน ที่ถูกพัฒนารวมถึงมีอัตราขยายตัวอย่างต่อเนื่อง  
เพื่อตอบรับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เนื่องจากเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องการ
ผลักดันประเทศไปสู่สู่สังคมที่ไม่ใช้เงินสด หรือ Cashless Society

ลงแล้ว ทำอะไรได้บ้าง  บอกหน่อยๆ
ยกตัวอย่างเลย  นาย ก. เป็นเพื่อนกับนาย ข. และต้องการจะโอนเงินให้แก่กัน 
เดิมทีเราจะต้องรู้เลขบัญชีธนาคารของอีกฝ่ายก่อนถึงจะโอนได้  แต่เมื่อมี Any ID 
อยู่ก็สามารถโอนเงินได้  เพียงแค่นาย ก. รู้เบอร์โทรศัพท์มือถือ 
หรือเลขประจำตัวประชาชนของ นาย ข. เท่านี้ก็สามารถโอนเงินให้กันได้แล้ว 
หรือว่าในอนาคตเราไปทานอาหารที่ร้านใดร้านหนึ่ง 
แต่ลืมพกบัตรเครดิตหรือเงินสด เราสามารถบอกหมายเลขเบอร์โทรศัพท์
หรือเลขประจำตัวประชาชนได้เลย จากนั้นร้านอาหารก็จะหักเงินในบัญชีธนาคาร
ของเราตามยอดเงินที่ต้องจ่าย 

และกับเกษตรกร รวมถึงประชาชนที่อยู่ในต่างจังหวัด การจะรับเงินแต่ละครั้ง
จากรัฐบาลมักมีความยุ่งยาก และได้รับไม่ครบจำนวนจริง 
เนื่องจากมีการหักออกด้วยค่าต่างๆ โดยตลอด 
แถมยังต้องเดินทางหากต้องไปขึ้นเงิน ดังนั้นถ้ามี Any ID อยู่
รัฐบาลจะโอนเงินให้กับหมายเลขประจำตัวนี้ได้เลย และเงินก็จะ 
เข้าสู่บัญชีในธนาคารโดยอัตโนมัติ ทำให้สะดวก คล่องตัว ประหยัดเวลา 
และไม่เสียค่าใช้จ่าย

จริงแน่นะ
วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 จะเปิดระบบให้ประชาชนมาลงทะเบียน Any ID
เบื้องต้นอนุญาตเชื่อมได้ 1 บัตรประชาชนต่อ 1 หมายเลขบัญชี 
และ 1 หมายเลขโทรศัพท์มือถือเท่านั้น แต่อนาคตอาจจะเชื่อมโยงได้มากขึ้น
  เดือนกันยายน 2559 เปิดระบบให้บริการจ่ายสวัสดิการด้วยการ
  ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน
  เดือนตุลาคม 2559 เปิดระบบให้บริการชำระเงินผ่านเบอร์โทรศัพท์ 
  และผ่านระบบ Any ID
  เดือนธันวาคม 2559 เปิดระบบเรียกเก็บเงินเพื่อรองรับ e-Commerce

ปลอดภัยแน่นะ 
ชัวร์  เป็นโครงการของรัฐบาล และรัฐบาลรับประกัย

สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักก่อนลงทะเบียนใช้งาน Any ID
  เลขในบัตรประชาชน 1 ใบ ผูกกับบัญชีธนาคาร ได้ 1 บัญชี
  มือถือ 1 เบอร์ ผูกกับบัญชีธนาคารได้ 1 บัญชี 
  แต่  1 คน เอาเบอร์มือถือไปผูกกับบัญชีธนาคาร ได้ ไม่เกิน 3 เบอร์ นะครับ
  สรุปได้ว่า  บัตรประชาชน 1 และเบอร์มือถืออีก
  รวมแล้วไม่เกิน 4 บัญชี (หรือยังไม่พอ)

ต้องการลงทะเบียนจะต้องใช้อะไรบ้าง...?
เอาโทรศัพท์มือถือ, บัตรประจำตัวประชาชน, สมุดบัญชีธนาคาร 
(ส่วนในด้านบัญชีเงินฝากจะเป็นแบบออมทรัพย์ หรือกระแสรายวัน ก็ได้ 
และเป็นของธนาคารอะไรก็ได้ทั้งภาครัฐกับภาคเอกชน เอาสมุดบัญชีติดตัวไปลงทะเบียน)

ให้ผมไปลงทะเบียนที่ไหนอ่ะ
1 เดินทางไปธนาคารสาขาใกล้บ้านที่ต้องการผูกบัญชีไว้กับเลขประจำตัวประชาชน 
และเบอร์โทรศัพท์มือถือ  แล้วบอกว่ามาลงทะเบียน Any ID (วิธีนี้ปลอดภัย 
เจ้าหน้าที่ทำให้ เขากดตัวเลขให้ ไม่ผิดแน่ แถมได้เห็นหน้าสาวแบงค์สวยๆ 
ยิ้มหวานๆอีกด้วย) อ้อ มีบัญชีธนาคารกรุงไทย อย่าเผลอเดินไปแบงค์กรุ่งเทพ เสียล่ะ 
2 ใช้ช่องทางออนไลน์ หรือตู้กดเงินใกล้บ้านได้ เช่น ATM, Mobile Banking, 
Internet Banking  (อันนี้ คน IT อย่างผม นั่งทำที่บ้านได้เอง บายๆๆ)

  หมายเหตุ : ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน  (yeaๆๆๆ ฟรี)

ประโยชน์ที่เราได้รับจาก Any ID
§  ปลอดภัย ลดการพกพาเงินสด ใช้จ่ายได้ทุกเวลาไม่ต้องไปธนาคาร 
§  ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดเวลาการเดินทางในพื้นที่ห่างไกล 
§  ไม่ต้องจำเลขบัญชี สะดวกรวดเร็วในการทำธุรกรรมทางการเงิน
§  การรับเงินสวัสดิการจากภาครัฐจะทั่วถึง ครบถ้วนตรงเวลา 
§  มีความโปร่งใส ลดข้อผิดพลาด และลดปัญหาทุจริตจากการจ่ายด้วยเงินสดหรือเช็ค
§  อนาคตร้านค้า, รถโดยสาร, โรงแรม, โรงพยาบาล จะรองรับการจ่ายเงินด้วย Any ID

§  ค่าธรรมเนียมโอนเงินด้วยระบบ Any ID
วงเงิน
ค่าธรรมเนียม
ตํ่ากว่า 5,000 บาท
ฟรี/ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
5,000 - 30,000 บาท
2 บาท/ครั้ง
30,000 - 100,000 บาท
5 บาท/ครั้ง
100,000 บาทขึ้นไป
10 บาท/ครั้ง

§  ที่มา : สมาคมธนาคารไทย



ไม่มีความคิดเห็น: